ในรั้วโรงเรียนแห่งหนึ่ง คุณครูได้พานักเรียนออกมาทำกิจกร รม
โดยการให้วิ่งแข่งกันเพื่อเข้าเส้นชัย
ในตอนแรก ทุ กคนต่างเริ่มต้นที่จุดสตาร์ทเดียวกันที่เส้นสตาร์ท
แต่การวิ่งแข่งครั้งนี้ไม่ใช่การวิ่งแข่งแบบทั่วไป เพราะคุณครูได้เพิ่มเงื่อนไข
ในการแข่งขันครั้งนี้เพิ่มขึ้นมา
โดยคุณครูจะพูดบางสิ่ง ซึ่งถ้าใครมีสิ่งที่คุณครูกล่าว ถึงจะมีสิทธิ์ก้าวออกมาก่อนเพื่อนหนึ่งก้าว
เช่น ใครที่ไม่เคยต้องทำงานบ้านเลย ก้าวออกมา 1 ก้าว,
ใครที่ไม่ต้องทำงานพาร์ทไทม์ เพื่อส่งตัวเองเรียน ก้าวออกมา 1 ก้าว,
ใครที่พ่อแม่ไม่ได้หย่ ากัน ก้าวออกมา 1 ก้าว เป็นต้น
เมื่อคุณครูพูดไปได้ 10 ข้อ ก็มีบางคนที่อีกไม่กี่ก้าวก็จะถึงเส้ยชัยแล้ว
ในขณะที่บางคนก้าวออกมาได้เพียงก้าวเดียว
และบางคนยังไม่ได้ก้าวออกมากับเพื่อนสักก้าวเลยแล้วจากนั้นคุณครูก็ได้เป่านกหวีด
เพื่อเป็นสัญญาณให้ทุ กคนออกวิ่งเพื่อเข้าเส้นชัย
สิ่งนี้มันสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงในชีวิตได้อย่ างชัดเจน ว่าคนเรานั้นเกิดมาไม่เท่ากัน
ถึงแม้จะบอกว่าทุ กคนได้ใช้ความพย าย ามเท่ากัน ซึ่งมันก็มีทั้งจริงและไม่จริงในคำพูดนี้ จริงที่ว่า…
ทุ กคนต่างใช้ความพย าย ามและศํกยภาพที่มีอยู่เพื่อวิ่งเข้าเส้นชัย แต่ก่อนที่จะเริ่มเป่านกหวีด
บางคนก็แทบจะถึงเส้นชัยอยู่แล้ว ในขณะที่บางคนต่อให้วิ่งสุดฝีเท้าแค่ไหน
ก็คงไม่ทันคนใกล้เส้นชัย เพราะจุดสตาร์ทของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน
เมื่อการแข่งขันจบลง คุณครูก็พูดว่า “ถ้าเป็นในเกมส์การแข่งขัน มีกติกา ทุ กคนเริ่มต้นได้อย่ างเท่าเทียมกันจริง
แต่ในชีวิตจริง ทุ กคนมีสิทธิ์ที่จะลงแข่ง แต่มันก็จะมีกติกาและเงื่อนไขในชีวิตเข้ามาเกี่ยวข้อง
ซึ่งมันไม่มีทางแฟร์ และคนที่ได้ก้าวออกมา ก็ไม่ควรคิดว่ามันแฟร์
เพราะถ้าทุ กคนมีโอกาสเท่ากันจริง ๆ คุณต้องยืนอยู่หลังเส้นเหมือนกับเพื่อน ไม่ใช่อยู่หน้าเพื่อน”
คนที่ได้โตมาในบ้านที่พ่อเป็นตัวอย่ างที่ดี โดยที่ไม่เคยต้องได้ช่วยพ่อแม่จ่ายบิลเลย เป็นสิ่งที่น่าเศร้ามาก
พ่อแม่คิดว่าเลี้ยงลูกได้อย่ างดี แต่มันทำให้ลูกไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบ
และการช่วยเหลือครอบครัว เมื่อลูกต้องโตแล้วออกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเองจริง ๆ
ก็จะยิ่งทำให้ลูกติ ดนิสัยรักสบาย ซึ่งในบางครั้งพ่อที่ดีก็ทำให้ลูกสบายจนไม่เคยที่จะคิดถึงเรื่องนี้มาก่อน
หลายครั้งที่ชีวิตของเรามักจะถูกตัดสินจากคนในสังคม ว่าต้องทำแบบนั้น ต้องเป็นแบบนี้
ถึงจะเรียกว่าถูกต้องต้องมีบ้านตอนอายุเท่านั้น ต้องมีรถตอนอายุเท่านี้
ซึ่งในความเป็นจริงทุ กคนไม่ได้เกิดมา
ในปัจจัยการใช้ชีวิตที่เท่ากันตั้งแต่แรก ทำไมต้องมีอะไรตอนอายุเท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่า
เป็นคนประสบความสำเร็จ
เพราะในชีวิตจริง เส้นชัยแต่ละคนไม่ใช่เส้นเดียว บางคนสั้นกว่า บางคนก็ย าวกว่าจะไปถึง
แล้วเราจะถึงเส้นชัยได้พร้อมกันไปทำไม
การเดินได้ช้ากว่าคนอื่น ไม่ได้แปลว่าเราไม่มีความสามารถ การเดินได้เร็วกว่าคนอื่น ไม่ใช่ว่าเก่งกว่า
เพราะพื้นฐานแต่ละคนมันมาไม่เท่ากัน ดังนั้นอย่ าเอาชีวิตของใครไปเปรียบเทียบกับใคร
และอย่ าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
ขอบคุณที่มา : bitcoretech