1. ฝึกลูกช่วยงานบ้าน
ฝึกลูกช่วยงานบ้าน เริ่มได้ตั้งแต่เล็ก โดยส่วนใหญ่เด็ กวัย 2 ขวบ เริ่มฟังและเข้าใจ
คำสั่งง่าย ๆ ดังนั้นเราควรฝึกลูกให้ช่วยงานบ้าน ขั้นพื้นฐาน เช่น เก็บของเล่น
หลังเล่นเสร็จแล้ว นำเสื้อผ้าที่สวม แล้วไปใส่ตะกร้าเป็นต้นการให้ลูกช่วยงานบ้าน
โดยเริ่มจากสิ่ง ที่เขาควรต้องรับผิดชอบเอง
ทำให้เด็ กได้เรียนรู้ เรื่องหน้าที่ของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการใช้ชีวิตในสังคม
เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น ค่อยเพิ่มหน้าที่ภายในบ้านให้เหมาะสมกับวัย
ลูกก็จะเรียนรู้ว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ตนทำมีผลกระทบต่อคนรอบข้างอย่ างไร นับเป็นจุด
เริ่มต้นของการเอาใจเขาใส่ใจเรา
2. ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเอง
ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเอง เพื่อเป็นพื้นฐานทักษะอื่นต่อไป เพราะการที่เ ด็ก
สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และลดการพึ่งพาคนอื่น จะทำให้เ ด็ก
เกิดความมั่นใจในตัวเอง ลดความกังวลและพร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ
ในชีวิตประจำวัน
3. การพาลูกพบคนหลากหลาย
การพาลูกพบคนหลากหลาย นับเป็นการฝึกให้ลูก มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
และเข้าใจสังคมมากขึ้น คือทำให้เขาเห็นว่า
ในโลกนี้ มีคนที่แต กต่างหลากหลาย ทั้งสีผิวเชื้อชาติภาษาและความคิด
ซึ่งสิ่งที่แต กต่างเหล่านี้ ไม่ได้แปลว่าผิดเสมอไป
การพาลูกออกเดินทางท่องเที่ยว ได้เห็นวิถีชีวิตผู้คนที่แต กต่างพร้อมกับคำชี้แนะ
ที่เหมาะสม จะทำให้ลูกเข้าใจความเป็นไปของโลกใบนี้ได้ดีขึ้น
4. ฝึกระเบียบวินัย
ฝึกระเบียบวินัย เพื่อเป็นทักษะการควบคุมตนเอง และยับยั้งชั่งใจให้แ ก่ลูก นับเป็น
พื้นฐานต่อการทนต่อสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งสามารถทำได้ ตั้งแต่เล็ก ๆ อาทิ การตื่นนอนและเข้านอนให้เป็นเวลา รับประทาน
อาหารเป็นเวลา การเก็บของเล่น
ให้เป็นที่เป็นทาง หลังเล่นเสร็จแล้ว ไม่รับประทานขนม
หรืออาหารในห้องนอนเป็นต้น
5. สร้างแรงบันดาลใจด้วยเรื่องเล่า
สร้างแรงบันดาลใจ ด้วยเรื่องเล่า สำหรับเด็ กเล็ก โลกของเขายังไม่กว้างใหญ่มากนัก
การเล่าเรื่องราวต่าง ๆ จากนิทานหรือเกร็ดประวัติศาสตร์อย่ างง่าย ๆ
เกี่ยวกับบุคคล ที่ทำเพื่อผู้อื่นจะช่วยทำให้ลูกเข้าใจ เรื่องการช่วยเหลือกันในสังคมได้ดีขึ้น
คนเป็นพ่อแม่ อาจถามลูกว่า หากเกิดเหตุการณ์
อย่ างในนิทานขึ้นกับลูก ลูกจะทำอย่ างไร ลองฟังคำตอบของลูกแล้วชื่นชมหรือตั้งคำถาม
เพื่อชี้แนะแนวทาง ที่ถูกหลีกเลี่ยงที่จะวิจารณ์และตัดสินว่า
คำตอบของลูก ถูกหรือผิดเพื่อให้ลูกได้ฝึกคิดด้วยตนเอง โดยมีพ่อแม่
เป็นผู้ชี้นำแนวทางที่เหมาะสม
6. สอนเรื่องอ ารมณ์ต่าง ๆ
สอนเรื่องอ ารมณ์ต่าง ๆ พ่อแม่มักให้ความสำคัญกับการสอนลูก ให้เป็นเลิศ
ในด้านวิชาการสอนเรื่องมารย าทกฎระเบียบ แต่กลับลืมเรื่องการรับมือ
กับอ ารมณ์ตั้งแต่ลูกยังเล็ก ดังนั้นพ่อแม่ควรเริ่มต้นสอนให้ลูกรู้จักอ ารมณ์ต่าง ๆ
ของตน ด้วยการเอ่ยชื่ออ ารมณ์นั้น ๆ เมื่อลูกแสดงออกมา อาทิเมื่อลูกร้องไห้
ที่ไม่ได้ของเล่น อาจบอกลูกว่า แม่รู้ว่าลูกกำลังเสี ยใจที่ไม่ได้ของเล่น หรือเมื่อลูกโกรธ
ที่ถูกแ ย่งขนมต้องบอกว่าลูกกำลังโกรธใช่ไหม แต่แม่อย ากให้ลูก
หายใจลึก ๆ ใจเย็น ๆ การสอนเช่นนี้ จะช่วยทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะจัดการกับอ ารมณ์ของตน
เมื่อโตขึ้นและไม่นำอ ารมณ์ของตนเอง มาเป็นข้ออ้างในการทำร้า ยคนอื่น
ขอบคุณที่มา : yakrookaset