อยากให้ชีวิตเจริญ อย่าพูดคำว่า “ไม่มีเงิน”
คำว่า ไม่มีเงิน เราเคยได้ยินคนพูดมานักต่อนัก ทำไมถึงไม่มีเงิน ทั้งๆที่ร่างกายก็สมบูรณ์แบบใช้ชีวิตแบบคนปกติได้
เพราะอะไร คงจะเป็นเพราะขาดความอดทน?
โยมบางคนมาถามเรื่องกสิณ บอกว่าผมจับภาพกสิณ ภาวนาแล้วแต่ทำไมยังไม่เกิดผล
อาตมาถามว่าคุณภาวนากี่ครั้ง ถึงร้อยครั้งหรือยัง ?
เขาก็อึ้งไปสักพักหนึ่ง แสดงว่าร้อยครั้งยังไม่ถึงเลย จึงบอกเขาไปว่า คุณไปเปิดหนังสือคู่มือปฏิบัติกรรมฐาน
หรือหนังสือกรรมฐาน ๔๐ ของหลวงพ่อวัดท่าซุงดู ในเรื่องการฝึกกสิณ
ท่านบอกว่า ให้ลืมตามองภาพ หลับตาลงนึกถึงภาพนั้น พร้อมกับกำหนดลมหายใจเข้าออกและคำภาวนา พอภาพเลือนไปให้ลืมตาดูใหม่
หลับตาลงกำหนดนึกถึงภาพนั้น พร้อมกับลมหายใจและคำภาวนา ทำอย่างนั้นเป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง จนกว่าภาพนั้นจะเริ่มติดตาติดใจ
ทีนี้เขาเองหลักร้อยยังไม่ผ่านเลย แล้วจะไปกล่าวถึงเป็นหมื่นเป็นแสนได้อย่างไร
เมื่อตอนบ่ายมีโยมมาปรารภว่า ตอนนี้การทำมาหากินลำบากมาก จะแก้ไขด้วยวิธีไหน? อาตมาก็แจ้งแก่โยมไปว่า ให้ใช้คาถาเงินล้านเป็นกรรมฐาน
เขาบอกว่าภาวนาเป็นประจำเช้าเย็นอยู่แล้ว อาตมาถามว่ากี่จบ? เขาบอกว่าเช้า ๙ จบ เย็น ๙ จบ อาตมาจึงบอกว่า
“โยมรู้ไหมว่า ถ้าอาตมาแนะนำให้ภาวนา ต่ำสุดจะให้เริ่มที่ ๑๐๘ จบ”
ยังดีกว่าโยมอีกคน เขาบอกว่าท่องคาถาเงินล้านมา ๒ เดือนยังไม่เห็นผล เราก็แปลกใจ เพราะถ้า ๒ เดือน
ทำจริงๆ ต้องเห็นผล ถามว่าโยมภาวนาครั้งละกี่จบ ? เขาว่าครั้งละ ๑ จบ แหม..น่าได้ผลจริงๆเลย
“การที่ให้เราภาวนามากๆ ก็เพราะว่าระยะเวลาที่ยาวนาน จะทำให้สมาธิของเราตั้งมั่นมากขึ้น”
เนื่องจากเรื่องของคาถาขึ้นอยู่กับสมาธิเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ยิ่งสมาธิสูงเท่าไร คาถาจะยิ่งให้ผลมากขึ้น
ดังนั้น.. การที่พวกเราทั้งหมดในปัจจุบัน ทำแล้วไม่ได้ผลเพราะไม่มีการทุ่มเท สมัยที่อาตมาภาวนาคาถาปัจเจกพระพุทธเจ้า อาตมาภาวนาครั้งละ ๙ จบ
ทำไปประมาณ ๓ เดือน ก็เริ่มเห็นผล พอมาปี ๒๕๒๘ หลวงพ่อท่านมอบคาถาเงินล้านให้ ก็มาปฏิบัติภาวนาดู
ตอนนั้นติดใจในการภาวนาคาถาบารมี ๓๐ ทัศ ก็เลยกำหนดว่า เราภาวนาคาถาเงินล้าน ๙ จบ น่าจะน้อยไป
เพิ่มเป็นวันละ ๓๐ จบดีกว่า จาก ๓๐ จบ ทำไปๆ เริ่มเห็นผล ก็มานึกว่า
สมัยหลวงปู่ป่าน ท่านมอบคาถาพระปัจเจกโพธิโปรดสัตว์ให้แก่ลูกศิษย์ แล้วมีบุคคลตัวอย่างที่ทำแล้วได้ผล ก็คือท่านนายห้างประยงค์
ตั้งตรงจิต เจ้าของห้างขายยาตราใบโพธิ์ หรือนายแจ่ม เปาเล้ง ชาวดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นบุคคลตัวอย่างที่หลวงพ่อท่านยกให้ลูกศิษย์ฟัง
ถ้ายิ่งได้พระประธานในโบสถ์ยิ่งดี ก็แปลว่าพี่เขาเอาบุญใหญ่อย่างเดียวแต่ของเรานี่เล็กน้อยแค่ไหน ขอให้รู้เป็นทำหมด พอหน้ากฐินก็เตรียมซอง
ปัจจัยไว้ซองละ ๑,๐๐๐ บาท วัดไหนมีกฐินร่วมกับเขาหมด ๑,๐๐๐ บาท พร้อมผ้าไตร ๑ ชุด ทำจนไม่ต้องนับ บางปีก็ ๔๐ – ๕๐ วัด ก็มี
ดังนั้น..โยมที่บอกว่า ลำบากในเรื่องทำมาหากิน ถ้าตั้งใจภาวนาคาถาเงินล้านจริงๆ ไม่เกิน ๒ เดือน
จะมีความคล่องตัวแน่นอน ที่กล้ายืนยันเพราะทำเห็นผลด้วยตนเองมาแล้ว
ทุกวันนี้ ที่บรรดาเพื่อนพระเห็นว่าอาจารย์เล็กรวย ก็คืออานิสงส์ของคาถาเงินล้านนั่นเอง เมื่อเดือนก่อนตอนประชุมพระนวกะ
ท่านเจ้าคณะตำบลชะแล เขต ๑ ก่อนหน้านี้เคยเป็นคู่เขยกัน คือท่านเป็นเจ้าคณะตำบลชะแลเขต ๑ อาตมาเป็นเจ้าคณะตำบลชะแลเขต ๒
เขาก็เลยเรียกกันว่าเป็นคู่เขยกัน
พอท่านมาถึงก็บอกว่า
“อาจารย์..ผมติดหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างอยู่ ขอยืมสักสี่แสนสิ”
อาตมาก็หัวเราะบอกว่า
“รู้ไหม..ที่เห็นว่าผมรวยเป็นเพราะผมใช้เงินไม่คิด มีเท่าไรผมก็ทุ่มออกเพื่องานส่วนรวมหมด คนที่ทำได้ทุกงาน ทำได้ทุกครั้ง
คนเขาจะเห็นว่ารวย แต่จริงๆ แล้ว ผมไม่มีเงินเก็บ ส่วนคนไหนก็ตามที่ไม่ยอมทำอะไรเลย ส่วนใหญ่เขามีเงินเก็บท่วมหัวทั้งนั้น
ลองไปขอยืมเขาดูก็แล้วกัน..”
แปลกดี..บางวันอาตมาเหลือเงินติดตัวอยู่แค่ ๒๒ บาทเท่านั้น! หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ท่านแนะนำเอาไว้ ท่านบอกว่า
จะมากจะน้อย ขอให้มีเงินติดตัวไว้ บาทหนึ่งสลึงหนึ่งก็ยังดี ถ้าใช้คาถาเงินล้านของท่าน
“อย่าพูดคำว่าไม่มีเงิน”
อย่างไรก็ต้องมี
“ถ้าหากว่าโยมมีเหรียญที่ไม่ได้ใช้ ก็ใส่ๆ กระเป๋าไว้บ้าง อย่างไรก็ให้มีเงินติดกระเป๋าอยู่ เป็นการแก้เคล็ด..”
ในสมัยของหลวงปู่ปาน มีลูกศิษย์ที่ทำคาถาพระปัจเจกโพธิโปรดสัตว์ แล้วประสบผลสำเร็จเป็นตัวอย่างให้คนอื่นได้
พอมาถึงรุ่นหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านไม่ได้ยกตัวอย่าง แต่อาตมาก็ทำให้เห็นแล้วว่า ถ้าทำจริงก็มีผลจริงๆ เหลือแต่พวกเราทั้งหลายว่า
จะมีใครทุ่มเทจริงจัง เมื่อถึงเวลาแล้วจะได้ประกาศอย่างเต็มปากเต็มคำว่า เราปฏิบัติกรรมฐานแล้วได้ผล
โดยเฉพาะในส่วนของคาถาเงินล้าน ที่มีอานิสงส์พิเศษก็คือ ความคล่องตัวในความเป็นอยู่
อานิสงส์ของการภาวนานั้น เราได้พุทธานุสติเต็มๆ อยู่แล้ว เพราะเป็นคาถาที่พระพุทธเจ้าท่านมอบให้มา
ถ้าเราต้องการไปนิพพานก็ภาวนาคาถาเงินล้าน แล้วเอาใจเกาะพระนิพพานไว้ ในส่วนของการดำรงชีวิตอยู่
เราต้องการผลพิเศษของคาถา ไปทำจริงๆ สักที เราต้องกล้าคิด กล้าทำ พูดง่ายๆ ก็คือ
ถ้าไม่มีใครกล้าเราก็ว่าเสียเอง ทำตัวเองให้เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์เสียเลย ถ้าเราทำได้ผล ถึงเวลาไปสอนคนอื่น
ก็จะสอนได้อย่างเต็มปากเต็มคำอีกด้วย สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนกันยายน ๒๕๕๓