1. เลิกคิดมาก ทำตามใจตัวเองบ้าง
สำหรับคนที่ขี้กังวล หรือคนที่เป็นห่วงความรู้สึกของคนอื่นจนเกินไป
อาจไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นคนคิดมากอยู่ เมื่อคิดมากก็จะนำมาซึ่ง
สภาวะทาง อ า ร ม ณ์ ที่ไม่มั่นคง
ทางออกคือ ควรเริ่มทำในสิ่งที่ช่วยเพิ่มระดับความพอใจในตัวเอง
เลิกคิดมาก หาความสุขให้ตัวเอง และทำในสิ่งที่เรา อ ย า ก ทำบ้าง
2. ไปพบผู้เชี่ยวชาญ
หากสุดท้าย ระบายแล้วยังรู้สึกทรมาน ไม่อาจหลุดพ้นความรู้สึกนี้ไปได้
ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิต วิ ท ย า เพื่อขอคำปรึกษา หรือไปเที่ยวเปลี่ยน
สถานที่, ไปจากความอึดอัด และความจำเจเดิม ๆ สิ่งไหนทำให้เรารู้สึกอึดอัดใจ
ก็ไม่ควรทนอยู่กับมัน ให้ เ สี ย สุ ข ภ า พ จิตอีกต่อไปค่ะ
3. ระบายออกมาเป็นตัวหนังสือ
ลองซื้อไดอารี่สักเล่ม หรืออาจจะเป็นแอปไดอารี่, โน้ตต่าง ๆ ในมือถือหรือในคอม ฯ
เขียนระบายความรู้สึกในใจลงไป ถ่ายทอดเหตุการณ์ ร้ า ย ๆ
เรื่องราว แ ย่ ๆ ที่เราต้องประสบพบเจอลงไปในนั้นแล้วลืมมันไป ชั่ ว คราว
เหมือนฝากเรื่อง ร้ า ย ๆ ไว้ในนั้นก่อน เราจะสัมผัสได้เลยว่า สิ่งต่าง ๆ
ที่ต้องแบกรับ มันหายไป จิตใจมันจะเบาขึ้น จนถึงวันหนึ่งเมื่อเราเข้มแข็งขึ้นแล้ว
ลองกลับไป อ่ า น ไดอารี่เล่มนั้นดู จะพบว่าสิ่งที่ทำให้ ทุ ก ข์ ใจจริง ๆ
แล้ว อาจจะไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เป็นความคิดของเรา ที่คิดวนเวียนซ้ำ ๆ
นำความ ทุ ก ข์ นั้นมาทำ ร้ า ย ตัวเองซ้ำ ๆ ต่างหาก
4. ร้องไห้ออกมา
การร้องไห้ คือการปลดเปลื้อง อ า ร ม ณ์ ออกมาในเวลาที่เหมาะสม เป็นการบำบัด
ที่ธรรมชาติของ ร่ า ง ก า ย สร้างเอาไว้ให้เรา ใน ย า ม ที่ความรู้สึก
พุ่งถึงขีดสุด ทั้งเศร้าสุด ๆ และดีใจสุด ๆ ก็ทำให้ร้องไห้ได้ทั้งนั้น น้ำตาแห่งความยินดี
หรือน้ำตาแห่งความเศร้าโศก ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือน่ารังเกียจ
คนที่ร้องไห้..ไม่ใช่คนที่อ่อนแอเสมอไป แต่เพราะร้องไห้เป็น จึงทำให้รู้ว่าเรามีหัวใจ
เราเป็นมนุษย์ที่เข้มแข็งขึ้นได้ ก้าวหน้าขึ้นได้ และพัฒนาขึ้นได้
5. ระบายให้คนใกล้ชิดฟัง
ลองเล่าสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกคับข้อง หรือตะขิดตะขวงใจ ให้คนรอบข้างฟังบ้าง
บางครั้งอาจเป็นเพราะเรารู้สึกเกรงใจหรือไม่กล้าพอ ที่จะพูดเรื่องที่ชวนอึดอัดใจ
เหล่านั้น แต่เชื่อเถอะว่า ทุ ก ปัญหามีทางออก เราอาจ
ได้รับฟังมุมมองใหม่ ๆ จากคนอื่นที่เป็นห่วงเราก็ได้นะ
ที่มา G o o d l i f e U p d a t e